หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

1.กำเนิดของนาฏศิลป์อินเดีย ตามความเชื่อโบราณ

   การศึกษาเกี่ยวกับ การละครและระบำในเอเชียต้องเริ่มต้นจากประเทศอินเดีย เนื่องจากนาฏศิลป์อินเดียเป็นแหล่งกำเนิดนาฏ  ศิลป์เอเชียเกือบทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นศรีลังกา พม่า กัมพูชา ไทย มาเลเชีย อินโดนีเชีย ล้วนแตกก้านสาขามาจากแม่แบบเดียวกันคือ นาฏศิลป์อินเดีย ทั้งนี้เพราะตามประวัติศาสตร์ของการเผยแผ่อารยธรรมอินเดียมีบทบาทอันสำคัญต่อการพัฒนาการทางศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย สิ่งที่ฝังรากไว้อย่างลึกซึ้งก็คือ ศาสนาและแนวความคิด รสนิยมทางศิลปะ เมื่อรับไว้แล้วก็ได้ผสมผสานให้กลมกลืนกันวัฒนธรรมพื้นบ้าน ผลที่ปรากฎก็คือลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่นในแต่ละประเทศ



รูป1.1
รูปหล่อทองเหลืององพระศิวะในท่ารำ นาฏราชา คริสต์ศตวรรษที่ 12


   โดยมีรากฐานของความคิดและรูปแบบพื้นฐานจากอินเดียร่วมกัน อาจกล่าวได้ว่าในความแตกต่างนั้นมีลักษณะร่วมที่เห็นได้ชัดจากลีลาการแสดงออก เนื้อหาสาระ จุดประสงค์และแรงบันดาลใจ จึงมีผู้ศึกษาละครเอเชียหลายท่านเห็นว่าละครเอเชียมีความเป็นเอกภาพในความเป็นเอเชียและที่เป็นเช่นนี้เพราะมีรากฐานหยั่งลึกมาจากนาฏศิลป์อินเดียนั่นเอง
   ศิลป์การละครของอินเดียมีความเกี่ยวข้องผูกพันกับศาสนาฮินดูอย่างแยกกันไม่ได้ เห็นได้ชัดเจนจากความเชื่อโบราณซึ่งในตำรานาฏเวทบันทึกเรื่องราวไว้ว่า พระผู้เป็นเจ้าและเทพยดาทั้งปวง ในศาสนาฮินดูเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้แห่งนาฏศิลป์และการละครแก่มวลมนุษย์ บางตำนานเล่าว่าโลกได้ฟังจังหวะเสียงดนตรีเป็นครั้งแรก เมื่อพระศิวะทรงใช้ไม้ตีกลองพร้อมกับทรงเคลื่อนกายไปตามจังหวะเสียงกลองนั้น
  ซึ่งเป็นโอกาสเดียวกับที่พิภพจักวาลได้อุบัติขึ้น อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า ก่อนที่โลกมนุษย์จะอุบัติขึ้น พระอินทร์มีพระราชบัญชาสั่งให้จัดวานฉลองในหมู่เทพ โดยทรงขอใหเฃ้าพระพรหมเป็นผู้อำนวยการจัดการแสดงละครครั้งสำคัญนี้ เพื่อฉลองชัยชนะที่ฝ่ายเทพสามารถปราบฝ่ายอสูรได้สำเร็จ โดยแสดงฉากสงครามพิชิตอสูรขึ้น เมื่อความทราบไปถึงเหล่าอสูร เหล่าอสูรจึงพากันมายกทัพมารังครานจนเกิดการสู้รบขึ้นอีก เหล่าอสูรใช้เสาธง ซึ่งคว้าได้ใกล้มือเป็นอาวุธ เดือดร้อนถึงพระอินทร์ต้องเสด็จมาปราบ โดยใช้คทาประดับพลอยเป็นอาวุธ เมื่อปราบเหล่าอสูรสำเร็จแล้ว พระพรหมจึงประกาศให้สงบศึกโดยเด็ดขาด พร้อมทั้งให้ยอมรับว่าการแสดงเทพปราบมารนั้นควรถือเป็นงานบันเทิงอันศักดิ์สิทธ์
 
    ความเชื่อในเรื่องนี้ว่ากันว่า เป็นที่มาของประเพณีการสร้างเวทีละครซึ่งจะต้องมีหลังคาปกปิดคุ้มครองผู้แสดง พร้อมมีเสาปักธงเป็นหลักเขตเพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามผู้ใดรบกวนขณะที่มีการแสดง นอกจากนี้ยังเน้นถึงพิธีกรรมบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเวที ซึ่งจะกระทำก่อนการแสดงทุกครั้ง

    ชาวฮินดูมีความเชื่อด้วยว่า คัมภรีภารตะนาฏยศาสตร์ (Bhrata Natayasastra) ซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณ และสมบรูณ์ที่สุดว่าด้วย ทฤษฎีและศิลปะการฟ้อนรำและการละครอินเดีย นักปราชญ์ชื่อ ภารตะหรือภารตะมุน(Bhrata Muni)เป็นผู้ได้รับพระราชทานศาสตร์แห่งนาฏลีลาทั้งหลายทั้งปวงจากพระพรหมและพระศิวะ ความเชื่อโบราณของชาวฮินดูดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมชาวฮินดูจึงยกย่องพระศิวะเป็น นาฏราชาทั้งนี้เพราะตามความเชื่อโบราณเล่าว่า พระศิวะผู้ให้กำเนิดเสียงไพเราะของดนตรีและผู้สร้างลีลาและจังหวะระบำงดงาม ทรงตระหนักว่าศิลปะการแสดงที่พระพรหมทรงอำนวยการสร้างขึ้น ยังขาดการแสดงในครั้งนั้น
 ด้วยเหตุนี้ในการแสดงนาฏศิลป์และละครของอินเดียจึงประกอบด้วยเสียงดนตรีและระบำเสมอ อาจกล่าวได้ว่า ศิลปะการแสดงของอินเดียเน้นที่ความงามและความไพเราะของคีตศิลป์ตลอดจนนาฏศิลป์ประกอบกับเป็นสำคัญ คำว่า นาฏยาซึ่งแปลว่า การละครในความหมายนี้ ชาวอินเดียหมายรวมทั้งการร่ายรำ การขับบทกวี และดนตรีผฝมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างเหมาะสมพอดี    

2. ภารตะนาฏศาสตร์
 คัมภรีภารตะนาฏยศาสตร์ ของนักปราชญ์ภารตะคือ แม่บทที่ใช้เป็นหลักบังคับในการแสดงนาฏศิลป์อินเดียที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ โบราณวัตถุที่ค้นพบหลายแห่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าตำรานี้เก่าแก่และสำคัญมากต่อชาวฮินดูมาช้านาน ศิลปวัตถุอันมีค่าชิ้นหนึ่งก็คือ รูปฟ้อนสตรีทำด้วยทองสัมฤทธิ์ซึ่งอยู่ในซากปรักหักพังของโมดฮนโชดารา (Mohenjodaro) มีอายุนานกว่า 4,000 ปี และยังพบภาพเขียนการฟ้อนรำในหมู่ถ้ำนัชมาฮี (Najmahi)
ในอินเดียตอนกลางเมื่อประมาณ 2,000 ปีที่ล่วงมาแล้ว ชาวอินเดียมีความเชื่อว่า ภารตะได้แต่งตำรานาฏยศาสตร์ไว้จริง และเชื่อว่าภารตะมีชีวิตในช่วงระหว่าง 200 ปีก่อนคริสตศักราช ถึง ค.ศ.200 อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานชัดเจนพิสูจน์ได้ว่า มีนักปราชญ์ชื่อนี้อยู่ในยุคสมัยใด นักวิชาการบางท่านจึงสันนิฐานว่า อาจจะเป็นชื่อของตัวละครในนิทานโบราณก็ได้ แต่ไม่ว่า ภารตะ จะมีตัวตนหรืไม่ ผู้ประพันธ์คัมภีร์นาฏยศาสตร์เหล่านี้ได้สร้างคุณปการอันยิ่งใหญ่แก่นาฏศิลป์อินเดีย และมีอิทธิพลต่อความนึกคิดลัจิใจของผู้สร้างสรรค์ศิลปะในรูปแบบต่างๆอีกด้วย เช่น
   ผลิตผลงานแกะสลักบนหิน ไม้ ปูนขาว และงานจิตรกรรมภาพเขียนบนฝาผนังในถ้ำ วิหารโบราณสถาน และ ศาสนสถานต่างๆ ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวและจังหวะ ซึ่งประกอบกันเป็นการฟ้อนรำนาฏศิลป์อินเดียอย่างมีแบบแผน
    ความรู้ที่ปรากฏใน คัมภรีภารตะนาฏยศาสตร์ ได้มีการบันทึกเป็นภาษาสันสกฤตประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4-5 ฉบับที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันมีความยาว 37 บท ส่วนใหญ่บรรยายโดยใช้ภาษาร้อยกรอง ยกเว้นบทที่ว่าด้วยเรื่องดนตรี ความหมายของ รส (Rasa) และ ภาวะ (Bhava) ซึ่งอธิบายเป็นภาษาร้อยแก้ว




Bharatanatyam
คนอินเดียจะออกเสียงเรียกว่า " ภรัตนาฏยัม "เป็นนาฏศิลป์ที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย มีส่วนสำคัญในพิธีของศาสนาฮินดูสมัยโบราณ ลักษณะที่โดดเด่น คือ ความเข้มแข็ง ความชัดเจนของจังหวะ และความสวยงามของท่าทาง (ที่B.H.U.ก็เปิดสอน)
แหล่งกำเนิดอยู่ที่ Tamil Nadu, Karnataka ทางตอนใต้ของอินเดีย







Kathakaliเป็นการแสดงที่เกี่ยวของกับ Ramanattam หรือ รามายณะ และมีการแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เช่น พระราม พระกฤษณะ
การแต่งหน้ามีเทคนิกซับซ้อนและใช้ระยะเวลานาน
โขน ของบ้านเราก็น่าจะได้รับวัฒนธรรม บางส่วน ไปจากการแสดงประเภทนี้
แหล่งกำเนิดอยูที่ Kerala ทางตอนใต้ของอินเดีย

 
    ความน่าเชื่อถือ ของ คัมภีร์ภารตะนาฏศาสตร์ ไม่มีใครปฏิเสธได้ เพราะในปัจจุบันคัมภีร์นี้ ได้รับยกย่องว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระเวชชุดที่ 5ตามความเชื่อของชาวฮินดูที่ว่า พระพรหมเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ทรงถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ในพระเวท ทั้ง 4 เล่มแก่ภารตะ ผสมผสานปรุงแต่งจนกลายเป็น นาฏเวท (Natya Veda) ซึ่งภายหลัง
เรียกว่า  คัมภีร์ภารตะนาฏศาสตร์ นั่นเอง
          ตามตำนานของชาวฮินดูเล่าว่า หลังจากภารตะได้รับความรู้เรื่องนาฏยศาสตร์จากพระพรหมแล้ว ก็จัดตั้งกลุ่มนางระบำที่เรียกว่า นางอัปสร กลุ่มผู้ขับร้อง และกลุ่มนักดนตรี เพื่อจัดการแสดงถวายองค์พระศิวะ หลังจากทอดพระเนตรการแสดงแล้ว พระศิวะโปรดให้ศิษย์เอกชื่อ ตันทุ  (Tandu)
    สอนท่ารำเข้มแข็งแบบชายเรียกว่า ลีลาตันทวา (Lasya) ให้แก่ภารตะ ส่วนพระนางปารวตีมเหสีแห่งองค์พระศิวะทรงสอนท่ารำอ่อนหวานนุ่มนวลของหญิงที่เรียกว่า ลีลาลาสยา (Lasya) จากนั้นภารตะจึงถ่ายทอดศิลปะการร่ายรำทั้งสองลีลาให้แก่นักปราชญ์ท่านอื่นต่อไปจนเผยแพร่ไปทั่วโลก ท่ารำที่พระศิวะและพระนางปารวตีทรงประทานให้เหล่านี้รวมทั้งสิ้น 108 ท่า ซึ่งชาวฮินดูถือว่าเป็นท่าศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การบูชา
   
     เนื้อหาหลักของ คัมภีร์ภารตะนาฏศาสตร์ กล่าวถึงนาฎศิลป์ 3 ลักษณะ ได้แก่
      1.  นฤตตา (Nritta)  การฟ้อนรำที่แสดงโดยลีลาท่าที เพื่อสร้างสรรค์ความงามบริสุทธิ์ของท่รำ
      2.  นฤตยา (Nritya) การฟ้อนรำที่ใช้ลีลาท่าทีเป็นเครื่องถ่ายทอดความหมายและอารมณ์ความรู้สึก
      3.  นาฎยา  (Natya) การฟ้อนรำที่ใช้ลีลาท่าที เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของวรรณกรรม

     การฟ้อนรำมีภาษาเฉพาะ ของมันนั่นคือ ภาษาท่าทีของอาการต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกอาการต่างๆ เรียกว่า มุทรา (Mudra) และท่าทีแสดงสองมือเรียกว่า สัมยุตา มุทรา (Samayuta Mudra) ท่วงท่าต่างๆ หล่านี้ใช้สื่อความหมายดุจเดียวกับการใช้คำพูด การสื่อสารความหมายด้วยมุทรา ผู้แสดงต้องอาศัยการแสดงออกทางใบหน้าและอวัยวะส่วนอื่นๆด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เรียกว่า อภินัย” (Abihinaya) ตามทษฎีแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ

     1.  การแสดงอารมณ์และภาวะด้วยเพลง คำพูด บทร้อง และดนตรี
     2.  การแต่งหน้า แต่งกาย บ่งบอกความแตกต่างของตัวละคร
     3.  การแสดงออกซึ่งอารมณ์ภายใน เช่น ความเศร้าโศก ความสุข ความดีใจ ความเสียใจ
    4.การแสดงการเคลื่อนไหวด้วยท่าทางต่างๆ

    การแสดงออกใน 4 ลักษณะข้างต้น จะเห็นว่านาฏศิลป์อินเดียให้ความสำคัญต่อการแสดงออกซึ่งอารมณ์แห่งความรู้สึกของนักฟ้อนรำ ท่ารำต่างๆมักเน้นการถ่ายทอดความรู้สึกและอารมณ์ภายใน การที่ผู้รำจะได้รับคะแนนนิยมจากผู้ชมมากหรือน้อยนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้รำที่จะถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกได้สมจริงสมจังเพียงใด ตามทษฎีของนาฏยศาสตร์ อารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์สามารถแสดงออกได้ 9 ชนิด
 
เรียกรวมกันว่า นวรส” (9 Rasa) ได้แก่

         1. ศฤงคาร (Shyingar)      :อารมณ์รักและความพึงพอใจ
         2. วีระ (Vira)                : กล้าหาญ
         3. กรุณา (Karuna)          : สงสาร เห็นใจ
         4.  เราทระ (Raudra)      : โกรธ
         5.  หาสยะ (Hasya)        : เย้ยหยัน ดูหมิ่น
         6.  ภยานกะ (Bhayanaka)  : ตกใจกลัว
         7.  พีภัทสยะ (Bhibhasya)   : เกลียดชัง
         8.  อัตภูตะ (Adbhuta)     : แปลกประหลาดใจ
         9.  ศานตะ  (Shanta)     : สงบใจ

   อารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ เป็นผลตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น เมื่อมนุษย์ได้รับรู้สภาพการณ์ บรรยากาศ หรือ เหตุการณ์บางอย่าง ซึ่งต้องอาศัยการแสดงออกของผู้ฟ้อนรำเรียกว่า ภาวะ

การแสดงออกในเชิงนาฏศิลป์นี้ต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 2อย่าง คือ

        1.ราคะ (Raga)  หมายถึง ดนตรี หรือ เพลงที่บรรเลง
        2.ตาละ (Tala) หมายถึง จังหวะ


  รวมแล้วกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง คือ
       -       ภาวะ
       -       ราคะ
       -       ตาละ
    
    ผู้ศึกษานาฏศิลป์อินเดียท่าหนึ่ง ได้ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า อักษรตัวหน้าของคำสามคำคือ ภ-ร-ตมีความคล้องจอ'กับชื่อนักปราชญ์ภารตะ ผู้บัญญัติกฎในตำรานาฏยศาสตร์



รูป 1.4
อารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์ 9 ชนิด หรือนวรส





รูป 1.5
มุทรา การสื่อความหมายด้วยภาษามือ ในรูป คือ การทำสมาธิ
   การสื่อความหมายด้วยภาษามือ (มุทรา) และการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายมีกฎเกณฑ์ที่กล่าวไว้อย่างละเอียด เป็นต้นว่า ใช้มือข้างหนึ่งหรือสองข้างสื่อความหมาย เช่น
กลีบดอกบัวค่อยๆบาน หมู่ภมรโผบินมาดมกลิ่นบุปผา วิหคเหินฟ้า มัจฉาในวารี มฤคีหลงป่า หรือส่ออารมณ์ความรู้สึกเช่น หรรษา อวยชัยให้พร บอกห้าม ชักชวน เป็นต้น
แขนหนึ่งข้างอาจเคลื่อนไหวได้ 27 ลักษณะ การแสดงอกทางใบหน้า มี 24 ลักษณะ โดยอาศัยคิ้ว ตา จมูก แก้มคาง ส่วนคอสามารถยักเยื้องไปด้านข้างและหน้าหลังประกอบตามอารมณ์ต่างๆหลายลักษณะเท้าใช้กระทบจังหวะทั้ง ช้า เร็ว หรือรัว ได้ทุกลักษณะอย่างคล่องแคล่ว
   นอกจากจะวางกฎเกณฑ์ของท่ารำและการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายแล้วภารตะยังเห็ความสำคัญของการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับฐานะทางสังคมของบุคคลปรือตัวละครแต่ละตัวด้วยโดยภารตะได้วางหลัก เกณฑ์ไว้ว่าตัวละครตัวใดมีการศึกษาจะต้องใช้ภาษาบาลีขณะเดียวกันภารตะยังได้กำหนดการใช้ดนตรีประกอบการแสดง รวมทั้งการแต่งกายและการใช้อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น หน้ากาก ให้เหมาะสมกับตัวละครแต่ละตัวไว้เช่นกัน
ภารตะได้อธิบายการจัดตั้งโรงละครและเวทีการแสดงไว้อย่างละเอียดเช่นกัน กล่าวสรุปก็คือ ลักษณะของโรงละครสามารถสร้างได้ 3 รูปแบบ คือ
       1.  รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
       2.  รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือวงกลม
     3.  รูปสามเหลี่ยม

 ไม่ว่าจะเป็นโรงละครรูปแบบใด เวทีการแสดงควรมีขนาดเหมาะสมกับเรื่องที่จะแสดง เป็นต้นว่า ถ้าเป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเทพ เทวดา อสูร และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ควรเป็นเวทียกระดับ 2 ชั้นเพื่อให้เทพปรากฏชั้นบนขนาดของเวทีควรมีเนื้อที่กว้างใหญ่ หากเป็นเรื่องวงศ์วานกษัตริย์ ราชสำนักควรมีขนาดปานกลาง ส่วนขนาดเวทีขนาดเวทีเล็ก เหมาะสมสำหรับแสดงเร่องราวคนสามัญทั่วไป เวทีควรมีหลังคาและมีเสา 4 ต้นคาไว้ แต่ละต้นทาสีแตกต่างกัน 4 สี คือ ขาว แดง เหลือง และน้ำเงิน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึง 4 วรรณะได้แก่
      พราหมณ์ กษัตริย์ สามัณชน และโจร-กรรมกร
นอกจากนี้เสา 4 ต้น หมายถึงคทาอันศักดิ์สิทธิ์ของพระอินทร์ ที่ใช้ปราบอสูรนั่นเอง ในส่วนที่จัดไว้เป็นที่นั่งผู้ชมนั้นมีหลักเกณฑ์ว่าควรอยู่ในตำแหน่งและทิศทางที่สามารถมองเห็นและได้ยินเสียงบนเวทีอย่างธรรมชาติ  ในกรณีที่กษัตริย์เสด็จทอดพระเนตรการแสดงพร้อมด้วยผู้ติดตาม ได้กำหนดให้จัดระเบียงทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่ประทับของกษัตริย์และที่รับรองเหล่าเสนาบดี ขุนนาง อำมาตย์ราชบัณฑิต ส่วนมเหสี นางสนม และนางในจะจัดให้อยู่ด้านซ้ายของกษัตริย์  สำหรับด้านหลังของเวทีกำหนดให้เป็นห้องแต่งตัวของผู้แสดงและห้องเก็บพัสดุอุปกรณ์การแสดงทั้งหมด
 ในส่วนของเนื้อเรื่องที่แสดงนั้นมีหลักเกณฑ์ว่า เรื่องราวจะต้องดำเนินไปพบสุขนาฏกรรม ละครอินเดียไม่นิยมเรื่องราวที่เป็นโศกนาฎกรรมโดยเด็ดขาด เพราะมนุษย์ควรมองโลกในแง่ดี

การดำเนินเรื่องจึงมีสูตรเฉพาะ ให้เป็นไปตามขั้นตอน 5 ขั้นตอน
    1. จุดเริ่มต้นของเรื่อง
    2.  ขั้นตอนที่แสดงความพยายาม
   3. ขั้นตอนที่แสดงความหวัง
    4.  ขั้นตอนที่แสดงความมั่นใจ
   5.  จุดจบที่ลงเอยด้วยความเข้าใจ

    ลักษณะเด่นของการแสดงนาฎศิลป์อินเดียและละครอินเดียอีกประการหนึ่งคือนิยมใช้เทคนิคการแสดงที่เกินจริงประกอบอยู่ในท่ารำหรือลีลาการแสดงออกท่าต่างๆ เพราะจะทำให้การสื่อความหมายและอารมณ์เป็นไปได้อย่างชัดแจ้งและประสบความสำเร็จ แม้กระทั่งการเปล่งเสียงหรือการเจรจาของตัวละครก็เน้นเทคนิคที่เกินจริง ไม่ว่จะเป็นบทเจรจาร้องแก้วหรือร้อยกรองก็ตาม ภารตะได้วางกฎเกณฑ์การเน้นเสียงหรือเปล่งเสียงให้มีจังหวะหนักแน่นและมีน้ำเสียงสูงต่ำอย่างเคร่งครัด
 ด้วยเหตุนี้จึง ถือ คัมภีร์ภารตะนาฎยศาสตร์ เป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์ และการละครของอินเดียไว้อย่างละเอียดลออและครอบคลุมทุกเรื่อง ดังนั้น คัมภีร์ภารตะนาฏยศาสตร์ จึงถือเป็นราก ฐานที่สำคัญยิ่งต่อวิวัฒนาการด้านศิลป์การแสดงของอินเดียในเวลาต่อมา แม้ในปัจจุบันรูปแบบของนาฏศิลป์อินเดีย จะมีอยู่มากมายหลายชนิดทั้งที่เป็นแบบฉบับมาตรฐานและแบบพื้นเมืองประจำท้องถิ่นต่างๆก็ตาม เรายังคงมองเห็นอิทธิพลของภารตะนาฏศิลป์ และสามารถมองเห็นได้ถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง ระหว่างศิลปะการ แสดงและศาสนา ซึ่งส่งผลกระทบต่อกันอยู่ตลอดเวลา ดังจะกล่าวถึงรายละเอียดในตอนต่อไป


3.พัฒนาการของระบำอินเดีย

  การสำรวจดูความเป็นไปของศิลปะการระบำของอินเดียในยุคสมัยต่างๆจะช่วยให้เข้าใจถึงภูมิหลังของการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาแนวคิด เนื้อหาสาระ รูปแบบการเสนอ ตลอดจนองค์ประกอบอื่น ที่ผลักดันให้เกิดศิลปะการแสดงใหม่ๆ ในแต่ละยุค ความรู้เรื่องภูมิหลังและประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์และละครอินเดียดังจะได้กล่าวต่อไปนี้ เป็นการปูพื้นฐานที่จำเป็นต่อการศึกษา รูปแบบระบำและละครอินเดียในยุคปัจจุบัน

ยุคโบราณ
การแสดงในยุคโบราณ (ตั้งแต่แรกจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 3) เป็นไปแบบเรียบง่าย นิยมขับบทกวี ซึ่งตัดตอนมาจากเรื่องราว ในมหากาพย์อมตะ 2เรื่อง คือ รามยณะ และ มหาภารตะ โดยมีนักฟ้อนรำแสดงนาฏลีลาประกอบตามทำนองและจังหวะของดรตรี จะเห็นว่านาฏศิลป์อินเดียมีลักษณะกึ่งระบำละครมาแต่โบราณแล้ว
เนื้อหาสาระที่นิยมแสดงก็เป็นเรื่องความผูกพันระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า ทัศนคติในการมองชีวิตก็เป็นเรื่องราวการสั่งสอนให้ทำแต่คุณงามความดี ยึดถือในหลักปรัชญาความคิดที่ว่า ธรรมะย่อมชนะอธรรม  การทำกรรมดีย่อมได้รับผลตอบแทนที่ดี และนี่คือรากฐานทางความคิดของคนอินเดียที่มีต่อสิ่งรอบๆตัว ศิลปะการแสดงไม่ว่าจะเป็นระบำ-ละคร หรือละครล้วนๆก็ต้องดำเนินไปตามกระแสความคิดดังกล่าว  นาฏศิลป์อินเดียเป็นศิลปะชั้นสูง และผู้ที่จะฟ้อนรำได้จะต้องเป็นสาวพรหมจารีผู้อุทิศตนเป้นพลีให้แก่เทพเจ้า เรียกว่า เทวทาสี (Devadasi)      
นักฟ้อนแห่งเทวลัยเหล่านี้มีหน้าที่ขับรำทำเพลงเพื่อบวงสรวงบูชาเทพเจ้า มีความสามารถในการอ่านพระเวทและแสดงนาฏลีลา โดยเฉพาะพวกเทวทาสีจะอยู่ในบริเวณเทวลัย ไม่ประกอบอาชีพนอกสถานที่ ศึกษาแต่วิชานาฏยศาสตร์ และอักษรศาสตร์ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รับใช้พระผู้เป็นเจ้า


6 ความคิดเห็น:

  1. ข้อมูลนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ
    หนังสือ เรื่อง ระบำและละครในเอเชีย ดร.มาลินี ดิลกวณิช

    บทความตอนนี้ ยังมีต่อ โปรดติตามในเวลาต่อไป

    ตอบลบ
  2. ควยโคตรยากเลยไอเหี้ย

    ตอบลบ
  3. Casinos to take a gamble at Las Vegas - BBS Jeon
    Casinos to take a gamble at Las Vegas I can 토 타임 say that casinos are willing 크롬 사이트 번역 to pay out 하하 포커 머니 상 over the last decade, at the best odds, if not always 깡 가입 코드 the best 바카라그림패턴

    ตอบลบ
  4. MrCasino.com Archives | dkmcd.com
    › customer_service › 충청북도 출장안마 casino-detail- › customer_service › 아산 출장안마 casino-detail- 순천 출장안마 MrCasino.com. 의정부 출장샵 Find the 공주 출장안마 latest customer reviews, ratings, features and news for MrCasino.com.

    ตอบลบ